มูลนิธิชัยพัฒนา
The Chaipattana Foundation
9 เรื่องราว ตัวอย่างความสำเร็จ สู่ชัยชนะแห่งการพัฒนา
9 Success Stories of "Victory through Development
พบกับองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนที่น้อมนำปลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงมาประยุกต์ใช้จนประสบความสำเร็จ
นิทรรศการตัวอย่างการพัฒนา
ที่ครอบคลุม 3 มิติ ที่ประสบความสำเร็จเป็น ชัยชนะแห่งการพัฒนา
มิติสุขภาพ
สะท้อนจากสุขภาพกายดี จิตใจแข็งแรง และความมั่นคงทางอาหารของคนในชาติ นำสนอผ่านโครงการที่ประสบความสำเร็จได้แก่:
  • ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ: เมล็ดพันธุ์ผักปลอดภัยพระราชทานแก่ชุมชนและผู้ประสบภัย สู่ความยั่งยืนด้านอาหารของประเทศ
  • ศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานบ้านหนองชะลาบ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก: ศูนย์ผลิตพันธุ์ไก่และพันธุ์สัตว์เพื่อพระราชทานแก่ราษฎรและโรงเรียนที่ห่างไกล ได้มีอาหารโปรตีนบริโภค และเพื่อสุขภาพของเด็กนักเรียนอันเป็นอนาคตของชาติ
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมล็ดคามีเลียและน้ำมันพืชอื่น จังหวัดเชียงราย: ต้นทางผืนป่า ปลายทางน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ก่อเกิดน้ำมันบริโภคคุณภาพดี เพื่อคนไทย
มิติด้านสิ่งแวดล้อม
ที่สะท้อนผ่านโครงการต้นแบบ คน...ดิน...น้ำ...ป่า และสิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ดูแลซึ่งกันและกัน
  • ศูนย์เรียนรู้ด้านหม่อนไหมแบบครบวงจร ของมูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดชัยภูมิ: เพิ่มคุณค่าสิ่งเหลือใช้จากธรรมชาติควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม สู่การสรรค์สร้างสีสันบนผืนผ้าไหมเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของไทย
  • โครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี: พลิกฟื้นผืนป่าสุดท้ายด้วยชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืน
  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี: แหลมผักเบี้ย ระบบบำบัดน้ำเสียและกำจัดขยะชุมชนโดยใช้ธรรมชาติ คืนสมดุลระบบนิเวศ
มิติทางสังคม
ตัวอย่างความร่วมมือกันอย่างบูรณาการ ด้วยการพัฒนาโดย “ระบิดจากข้างใน” ก่อเกิดเป็นความเข้มแข็งของชุมชน อยู่ดี กินดี มีความสุข
  • โครงการชัยพัฒนา-กาชาดไทย (บ้านทุ่งรัก) อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา: จากผู้ประสบภัยสึนามิ เกาะพระทอง จังหวัดพังงา สู่ชีวิตใหม่ ชุมชนใหม่ สำเร็จได้ด้วยการพัฒนาตามหลักภูมิสังคม
  • ภัทรพัฒน์: ผลผลิตจากการพัฒนา สู่ความยั่งยืนทางอาชีพ
  • โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม: การศึกษาทางเลือก เพื่อสร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ อย่างยั่งยืน
Prologue
เปิดโลก..ที่จะสะท้อนทุกมุมมองของปัญหาที่เกิดจากพัฒนาแบบก้าวกระโดดและกิจกรรมของมนุษย์สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้..จะส่งผลต่อวันพรุ่งนี้และอนาคตอย่างไร...ค้นพบความหวังและหนทางไปต่อจากคนที่ลงมือทำจริงเพื่อโลก ถ่ายทอดผ่าน Immersive Experience ที่จะทำให้คุณตระหนักว่า..เรื่องของความยั่งยืนเป็นเรื่องของเราทุกคน..และโลกจะไปต่อไป..เราต้องลงมือทำ
3 โซนนิทรรศการที่จะชวนคุณกระตุกต่อมคิดไปด้วยกัน
REFLECTION OF IMPACT
ภาพสะท้อนที่สร้างความรู้สึกว่าคุณกำลังเดินทางเข้าสู่ของโลกที่ไร้สมดุลและกำลังจะแตกสลาย ด้วยการนำกระจกจำนวนมากมาใช้ในการออกแบบ ให้การหักมุมของกระจกที่ถูกดีไซด์ขึ้น สะท้อนถึงสภาวะการณ์อันน่ากลัวของการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติอันเกิดผลทางตรงของภาวะโลกร้อนจนเดือด รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและฤดูกาลที่ผิดเพี้ยนไป ซึ่งสื่อถึงการส่งสัญาญาณเตือนให้เราทุกคนต้องหยุดคิด และลงมือทำบางอย่าง เพื่อรักษาสมดุลที่ดี เพื่อให้เราและโลกได้ไปต่อ
POINT OF NO RETURN
ผลกระทบจากการพัฒนาและกิจกรรมของมนุษย์ การปฏิวัติอุตสหากรรมทั้ง 4 ยุค การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก ในขณะเดียวกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ก็มากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน ส่งผลเกิดสภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้ว การเปลี่ยนแปลงของสภาพความเป็นอยู่ บังคับให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด นอกจากนี้ใน สงครามที่ปะทุในมุมต่าง ๆ ของโลก ยิ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คน ทำให้เกิดการพลัดถิ่น การอพยพ ที่มีผลมาจากความไม่สงบและผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
HOPE AND HELP
ค้นพบความหวังและหนทางไปต่อ ตัวอย่างจากคนที่ลงมือทำจริง สร้าง impact อย่างแท้จริงในทุกมิติ และสุดท้ายโลกและเราจะไปต่อได้ทุกคนต้องร่วมมือกัน ถ่ายทอดเชิงสัญลักษณ์ผ่านผลงานศิลปะที่ชื่อว่า ‘Story from Plateau’ หรือ ‘เรื่องราวจากที่ราบสูง‘ โดย อาจารย์บุญโปน โพทิสาน‘ ซึ่งเป็นผลงานที่จะสื่อถึงปัญหาระเบิดในประเทศลาว มีเรื่องราวมาจากผู้ที่ได้ผลกระทบจากระเบิดใต้ดินส่งผลอันร้ายแรงจนกลายเป็นผู้พิการ “ผู้ชมทุกท่านจะได้สัมผัสกับความรู้สึกเศร้าและอ่อนไหวไปกับผลงานชุดนี้ และจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความโหดร้ายของสงครามที่เกิดขึ้น เพราะไม่ว่าจะทางตะวันตกและทางเอเชียมีความคิดตรงกันว่า สงครามไม่ได้ส่งผลดีต่อใครเลย”
 

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
Mae Fah Luang Foundation under Royal Patronage
ความยั่งยืน…เรื่องของทุกคน
Sustainability is everyone’s business
Sustainability is us มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ น้อมนำแนวพระราชดำริในการหยุดวงจรแห่งความทุกข์ยากมาใช้ในการดำเนินงานพัฒนาอย่างบูรณาการที่มีคนเป็นแก่นกลาง ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนชีวิตคนที่ขาดโอกาสให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยได้นำเสนอผ่าน 3 แนวคิดหลัก ได้แก่
  • คนอยู่ได้ ป่าก็อยู่ได้
  • โลกอยู่ได้ คนถึงจะอยู่ได้
  • โลกจะอยู่ได้ เราทุกคนต้องร่วมมือกัน

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)
สืบสาน รักษา ต่อยอด การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน
(Nurture, Conserve and Extend The development works according to the royal initiatives for the sustainable happiness of the people)
"สำนักงาน กปร. ได้น้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “สืบสาน รักษา ต่อยอด” มาเชื่อมโยงต่อยอดกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้คณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยครอบคลุมในมิติต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมความยั่งยืน และอื่น ๆ นำมาจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้อง เหมาะสมกับภูมิสังคมของแต่ละท้องถิ่น
  • “สืบสาน” : ทำสืบต่อกัน ทำต่อเนื่อง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ขับเคลื่อน ในรูปแบบคณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ทั้ง 4 ภาค ให้สามารถดำเนินการได้สำเร็จและบรรลุตามแนวพระราชดำริ
  • “รักษา” : ทำให้คงอยู่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่คณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) โดยนายกรัฐมนตรี ประธาน กปร. ได้พิจารณาอนุมัติหลักการ และสำนักงาน กปร. ได้จัดทำรายงานทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เป็นระยะ ๆ
  • “ต่อยอด” : ทำและพัฒนาสิ่งที่ทำไว้แล้วให้ก้าวหน้าและได้ผลดียิ่งขึ้น สำนักงาน กปร. ในฐานะหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงานสนองพระราชดำริ ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเพิ่มขึ้นจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"
ศาสนา และความยั่งยืน
Religion and Sustainability
นำเสนอหลักในการใช้หลักการทางศาสนา โดยสะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์เป็นตัวตั้งของการพัฒนา ดังคำกล่าวที่ว่า "พัฒนาชาติให้เริ่มที่ประชาชน พัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ" จะพัฒนาอะไรให้เริ่มที่ตัวเองก่อน

โดยมีแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เน้น 5 องค์ประกอบหลัก (5P) ได้แก่
  • ประชาชน (People) - การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ทำความรู้จักกับคำว่า อารยเกษตร และ อารยชน โครงการให้คำปรึกษาที่เรียกว่า "ปัญญาบำบัด"
  • โลกของเรา (Planet) - A Buddhist perspective On Environmental การรักษาสิ่งแวดล้อม มุมมองทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ความมั่งคั่ง (Prosperity) - การส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เน้นย้ำการสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านความรู้และการศึกษา ของวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์
  • หุ้นส่วน (Partnership) - การร่วมมือระหว่างองค์กร ภายใต้แนวคิด "บวร" หมายถึงความร่วมมือ การร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนในสังคม
  • สันติภาพ (Peace) – การสร้างสังคมที่สงบสุขเน้นการส่งเสริมการสร้างสันติภาพและการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาสังคม ผ่าน 3 เรื่องราว
    • วาติกัน-วัดโพธิ์ภารกิจในการร่วมสร้างสันติภาพและสันติสุขระหว่างคริสตจักร-พุทธจักร
    • การสร้างสันติภาพโลกและวิปัสสนาคารนานาชาติ
    • สร้างพระธรรมทูตไทยก้าวไกลสู่เวทีโลก

กระทรวงมหาดไทย
Ministry of Interior
" มหาดไทย ” กับนวัตกรรมเชิงภูมิสังคมเพื่อโลกที่ยั่งยืน
(MOI Geo-social Innovation for Sustainability: Change for Good for a Better World)
"นิทรรศการแบ่งออกเป็น 5 โซนหลัก
  • Zone A: “Our Passion”
    แสดงพระบรมฉายาลักษณ์ พระปฐมบรมราชโองการ และพระราชดำรัส เพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงบันดาลใจของคนกระทรวงมหาดไทย ที่ได้น้อมนำพระราชปณิธาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวพระราชดำริต่าง ๆ มาขับเคลื่อน
  • Zone B: “Passion to Action”
    นำเสนอผลงานโครงการ ของกระทรวงมหาดไทย ที่ได้น้อมนำพระราชปณิธาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแนวพระราชดำริต่างๆ มาเป็นหลักในการดำเนินงาน ผ่านนิทรรศการ และคลิปสั้น
  • Zone C: “MOI War Room/MOI War Room เฉลิมพระเกียรติฯ”
    นำเสนอผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของโครงการเฉลิมพระเกียรติ และ Best Practice งานของ มท. ผ่านทางระบบ MOI War room
  • Zone D: “ก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของของกระทรวงมหาดไทย ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ผ่านระบบ MOI SDGs Tracker
  • Zone E: “มหาดไทยปันสุข”
    นำผลผลิตจาก "โคก หนอง นา" หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากจังหวัด และภาคีเครือข่าย มาแบ่งปันให้กับผู้เข้าชมนิทรรศการ
  • Zone F: About MOI/Tell us about your passion
    • About MOI แสดงข้อมูลทั่วไปและโครงสร้างการบริหารของกระทรวงมหาดไทย
    • Tell us about your passion จัดให้มีแผนที่ประเทศไทยบนบอร์ดที่สามารถเขียนและลบได้ โดยให้เขียนเกี่ยวกับแรงบันดาลใจ หรือสิ่งที่อยากทำเพื่อความยั่งยืนฯ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชมนิทรรศการ
  • Zone G: “ACTION NOW”
    นำเสนอต้นแบบความสำเร็จ (Best Practice) ของการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ แบบ Real - Time ในรูปแบบ Live action"

มูลนิธิอุทกพัฒน์ และ สถาบันสารสนเทศและทรัพยากรน้ำ (สสน.)
 
“นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน” ("Creative Innovations for Water Sustainability")
พบกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการสำรวจ ตรวจ วัด และบริหารจัดการน้ำในรูปแบบต่างๆ พร้อมการรับมือกับภัยพิบัติทางน้ำ เช่น
  • "เทคโนโลยีสำรวจและตรวจวัด สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที
    • อากาศยานไร้คนขับ:
      สนับสนุนภารกิจสำรวจพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง เพื่อสร้างข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายและข้อมูลแผนที่สามมิติ
    • เรือสำรวจความลึกอัตโนมัติ:
      สำรวจหาค่าระดับความลึกแหล่งน้ำ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง สามารถวิเคราะห์ลักษณะพื้นท้องน้ำและสิ่งปกคลุมพื้นผิวท้องน้ำ
  • ระบบโทรมาตรอัตโนมัติ:
    ตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศ ปริมาณฝน และระดับน้ำ รับ-ส่งข้อมูลอัตโนมัติทุก 10 นาที อย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำ และเตือนภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระบบสำรวจทางน้ำอย่างง่าย:
    สำรวจสภาพน้ำ ระดับความลึกของแหล่งน้ำขนาดเล็ก สำหรับประเมินความจุแหล่งเก็บน้ำ ได้แก่ ระบบตรวจวัดสภาพน้ำขนาดเล็ก (ปทุมมาตร) เรือสำรวจความลึกแหล่งน้ำขนาดเล็ก
  • รถสำรวจภูมิประเทศด้วยระบบ MMS:
    สำรวจสภาพภูมิประเทศเพื่อจัดทำแบบจำลองภูมิประเทศสามมิติและผลิตแผนที่รายละเอียดถูกต้องสูง ในเวลาอันรวดเร็ว
  • ตัวอย่างความสำเร็จการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ และพิพิธภัณฑ์น้ำชุมชน

องค์การสหประชาชาติในประเทศไทย
United Nations Country Team in Thailand
United Nations EXPERIENCE Pavilion
สำนักงานสหประชาชาติในประเทศไทย (United Nations Country Team in Thailand) โดยหน่วยงานสำคัญกว่า 10 หน่วยงาน เช่น ILO, IOM, UN-Habitat, UNDP, UNESCO, UNFPA, UNHCR, UNICEF, UNODC, UN Volunteers พร้อมภาคีเครือข่ายภาคเอกชนอย่างสมาคมเครือข่าย Global Compact Network Thailand (GCNT) และนิสิตนักศึกษารุ่นใหม่ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำภายใต้โครงการ MUN Network Thailand มาร่วมนำเสนอเนื้อหาการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมและเกมส์จากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างมิติใหม่ของการเรียนรู้ SDGs ด้วยเทคโนโลยี AI ที่ล้ำสมัย และ VR โลกเสมือนจริง ตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่
  • International Labour Organization (ILO) นำเสนอประสบการณ์การทำงานของลูกเรือบนเรือประมงไทยผ่านเทคโนโลยี VR
  • International Organization for Migration (IOM) นำเสนอเว็บไซต์มิตรไทยที่แรงงานข้ามชาติสามารถหาข้อมูล คำแนะนำ และบริการต่าง ๆ ได้
  • United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR) ให้ผู้เข้าชมลองเป็นวิศวกรต่อเลโก้บ้านจำลองผู้ลี้ภัยพร้อมสัมผัสประสบการณ์ชีวิตของผู้ลี้ภัยในมิติที่สมจริงยิ่งขึ้นผ่าน VR
  • UN Habitat พาสำรวจเมืองปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้หญิงในโลก Minecraft ผ่าน VR
  • United Nations Population Fund (UNFPA) ชวนเยาวชนและวัยรุ่นสร้างความปลอดภัยในชีวิตด้วย “SoSafe” Chatbot ที่รวมความช่วยเหลือสำหรับทุกปัญหา ทุกเพศ ทุกวัย ไว้ในที่เดียว
  • United Nations Development Programme (UNDP) นำเสนอเกมส์ “The Collectors” แนะนำการแยกขยะอย่างถูกวิธี พร้อมสำรวจการขับเคลื่อนความยั่งยืน
  • United Nations Volunteers (UNV) นำเสนอโอกาสการทำงานกับ UN ด้วยนวัตกรรมการคัดเลือกจาก AI-POWERED VOLUNTEER PLATFORM
  • The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) นำเสนอการผจญภัยเดินดูสัตว์ในป่าเสมือนจริงผ่าน AR และอ่าน “มังงะไร้คำพูด” (Silent Manga) เพื่อสันติภาพ
  • The United Nations International Children’s Emergency Fund (UNICEF) นำเสนอสิทธิเด็กผ่านบอร์ดสิทธิเด็กและเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันความหวังและความฝัน

World Bank
International Bank for Reconstruction and Development (IBRD)
การสร้างโลกที่ปราศจากความยากจนบนโลกที่น่าอยู่
ความร่วมมือกับกลุ่มธนาคารโลก
ด้วยสมาชิก 189 ประเทศ พนักงานจาก 170 ประเทศ และสำนักงานใน 130 แห่ง กลุ่มธนาคารโลกเป็นแหล่งให้ทุนและความรู้แก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ให้คำแนะนำเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับผลกระทบในโลกแห่งความเป็นจริง
การจัดหาเงินทุนที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับโซลูชั่นการพัฒนา
สร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกับภาครัฐและเอกชน

สนับสนุนการเงินเพื่อการลงทุนที่ยั่งยืนทั่วภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการเงินสีเขียว การเงินสีฟ้า และการพัฒนาคาร์บอนเครดิต
นวัตกรรมทางการเงิน นวัตกรรมทางการเงิน การพัฒนาคาร์บอนเครดิต
ขยายการลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งรับปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป และปกป้องสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ขยายการลงทุนเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ลดมลพิษพลาสติกในทะเล ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการประมง และปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำ สนับสนุนการสร้างและการขายคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพสูง จูงใจการลงทุน และนำผลประโยชน์มาสู่เศรษฐกิจและชุมชนท้องถิ่น


เมืองที่ยั่งยืน
เปลี่ยนเมืองของประเทศไทยให้เป็นเมืองที่คาร์บอนต่ำและมีความยืดหยุ่น และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมด้วยการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่สำคัญ และสร้างกรอบการทำงานที่เอื้ออำนวย

การระดมภาคเอกชน การพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ความยืดหยุ่นในเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การใช้แผนการจัดหาเงินทุนตามที่ดินสำหรับโครงการขนส่ง เช่น รถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้ารางเบา และระบบรถโดยสารด่วนพิเศษในกรุงเทพฯ และเมืองรอง สิ่งนี้สามารถสร้างรายได้ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน การลดการปล่อยก๊าซขนาดเล็กเพื่อกระตุ้นการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศในระดับเมืองและขายคาร์บอนเครดิตในระดับสากล การมีสี่โครงการใน 10 เมืองอาจส่งผลให้มีมูลค่าเงินชดเชย (NPV) 10 ปีมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การเพิ่มความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศในเมืองต่างๆ ผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การป้องกันน้ำท่วม และสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อรับมือกับความร้อนในเมือง


นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
ทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้มากขึ้นโดยการส่งเสริมนวัตกรรมในท้องถิ่น การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ และเสริมสร้างทักษะของแรงงานไทย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การส่งเสริมนวัตกรรม การสร้างทักษะ ความก้าวหน้าของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
สร้างนโยบายส่งเสริมนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ผลักดันเศรษฐกิจไทยก้าวไกลสู่ระดับโลก ปรับปรุงความพร้อมด้านแรงงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจโลกและงานในอนาคต ส่งเสริมการเติบโตของภาคเอกชน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการปฏิรูปบรรยากาศการลงทุน และประสิทธิภาพของบริการภาครัฐสำหรับบริษัทต่างๆ นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อปรับปรุงการดำเนินธุรกิจและปรับปรุงบริการภาครัฐ

สำนักเลขาธิการอาเซียนและศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ASEAN Centre for Biodiversity
Conserve ASEAN Biodiversity
ASEAN Centre for Biodiversity (ACB) เป็นองค์กรรัฐบาลระหว่างประเทศ สังกัดสำนักเลขาธิการอาเซียน มีภารกิจปกป้อง ฟื้นฟู และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคอาเซียน ผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และประสานงานกับองค์กรระดับภูมิภาคและนานาชาติ ภารกิจสำคัญของ ACB คือการปกป้อง ฟื้นฟู อนุรักษ์ รวมถึงส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมในภูมิภาค

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ACB ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้ก้าวเข้าสู่ "ยุคแห่งการค้นพบ" หรือ Age of Discovery โดยพบสายพันธุ์พืชและสัตว์ใหม่ ๆ กว่า 2,200 ชนิดในภูมิภาค การค้นพบและบันทึกข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าว เป็นปัจจัยสนับสนุนการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของประเทศสมาชิกอาเซียน

ในงาน SX 2024 นี้ ACB นำเสนอข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของอาเซียนในรูปแบบดิจิทัล ผ่านเทคโนโลยีทันสมัยอย่าง Virtual Tour และ Touch Screen เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วม (Accessibility and Engagement) ให้แก่ผู้ชมงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านเกมส์และกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
  • AHP Virtual Tour (ASEAN Heritage Park)
    เกมส์ยาว 5 นาทีที่ให้ผู้เล่น Walk Through อุทยานธรรมชาติ Mount Kitanglad ซึ่งเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในฟิลิปปินส์ และได้เห็นธรรมชาติสายพันธุ์ต่าง ๆ
  • ASEAN Biodiversity Dashboard
    Dashboard แสดงพื้นที่เสมือนจริง (online platform) ผ่าน dashboard.aseanbiodiversity.org เพื่อแสดงให้เห็นภาพแนวโน้มและตัวชี้วัดด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ผู้เล่นได้สัมผัส เข้าถึง และรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสียกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • Species Occurrences Map
    แผนที่ Interactive แสดงพืชและสัตว์สายพันธุ์ต่าง ๆ และแหล่งที่อยู่อาศัยในอาเซียน
  • Map of Zoonotic Diseases
    ใช้ฐานข้อมูลจาก WHO ในการสร้างแผนที่ Interactive ที่แสดงพื้นที่ที่เคยเกิดโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนในภูมิภาคอาเซียน

ญี่ปุ่น
Japan
Satellites: Early Warnings from Space, Protecting Forests and Lives
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (The Cabinet Office of Japan) สำนักนโยบายกิจการด้านอวกาศจากประเทศญี่ปุ่น (The National Space Policy Secretariat) นำเสนอเทคโนโลยีด้านอวกาศที่นำมาใช้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาระบบนิเวศ เช่น การใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อใช้ส่งสัญญานเมื่อเกิดความร้อน หรือปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดไฟป่า เพื่อการป้องกันไฟป่า และการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งไฟป่าเป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึง สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหลายด้าน เช่น ปัญหาฝุ่นควัน ปัญหาการสูญเสียสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการคงความสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ

การจัดกิจกรรมในงาน SX 2024 สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (The Cabinet Office of Japan) สำนักนโยบายกิจการด้านอวกาศจากประเทศญี่ปุ่น (The National Space Policy Secretariat) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) นำเสนอเทคโนโลยีอวกาศ ด้วยกิจกรรมและเนื้อหาที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจ เห็นประโยชน์ และมีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีอวกาศเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีการนำชุดนักบินอวกาศ แบบจำลองยานอวกาศและดาวเทียม และเครื่องมือเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศมาร่วมแสดงในงาน

สวีเดน
Sweden
Research and innovation – Unlocking solutions for the future, today
สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทยร่วมกับหอการค้าไทย-สวีเดน (The Thai-Swedish Chamber of Commerce – SweCham) นำองค์กรและบริษัทชั้นนำร่วมนำเสนอนวัตกรรมแห่งความยั่งยืน โดยมีนิทรรศการ “Pioneer the Possible: Research and Innovation” ที่นำเสนอบทบาทของสวีเดนในด้านนวัตกรรมความยั่งยืนระดับโลก มุ่งเน้นโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยที่แข็งแกร่ง ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืน โดยนำเสนอความสำเร็จของสวีเดนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการสร้างบริษัทยูนิคอร์น นิทรรศการยังเน้นแนวทางของสวีเดนในการสร้างอนาคตที่ดีกว่า การแสวงหาพันธมิตรและความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ พร้อมกันนี้ ยังได้นำตัวอย่างนวัตกรรมของภาคเอกชนมาร่วมแสดง ได้แก่
  • Alfa Laval
    Alfa Laval นำเสนอเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในกระบวนการอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั้งการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) การหมุนเหวี่ยงแยกส่วน (Centrifugal Separation) และการจัดการของเหลว (Fluid Handling) โดยมุ่งเน้นการช่วยลดการปล่อยมลพิษ การนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ใหม่ และสนับสนุนการดำเนินงานอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งช่วยให้สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างรับผิดชอบ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของ Alfa Laval ในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนในระยะยาว
  • Hitachi
    Hitachi ดำเนินงานในหลากหลายภาคส่วน ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ (บริการไอที การประมวลผลแบบคลาวด์ และข้อมูลขนาดใหญ่) โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม (การวางผังเมือง การขนส่ง เมืองอัจฉริยะ และพลังงาน) นวัตกรรมพลังงาน (พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานหมุนเวียน และเครือข่ายพลังงานอัจฉริยะ) เครื่องจักรก่อสร้าง (เครื่องจักรหนัก รวมถึงรถขุด และอุปกรณ์เหมืองแร่) และการดูแลสุขภาพ (ระบบภาพทางการแพทย์และอุปกรณ์วินิจฉัย) โดยเทคโนโลยีสำคัญที่นำเสนอ ได้แก่ ความมั่นคงและความยืดหยุ่นของพลังงาน (Energy Reliability and Resilience) การปฏิบัติตามมาตรฐาน ESG และการลดการปล่อยคาร์บอน Hitachi ยึดหลักการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อ 7, 13 และ 15 พร้อมตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการเร่งลดคาร์บอนและสนับสนุนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทต่าง ๆ
  • Saab
    Saab นำเสนอ Digital Tower ซึ่งปฏิวัติวงการการจัดการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management - ATM) โดยเน้นความยั่งยืนและประสิทธิภาพ ระบบหอควบคุมระยะไกล (r-TWR) ที่ช่วยลดต้นทุนและเวลาในการสร้างหอควบคุมใหม่ลงกว่าครึ่ง พร้อมทั้งประหยัดพื้นที่สนามบิน การรวมศูนย์ปฏิบัติการในศูนย์หอควบคุมระยะไกล (RTC) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของการจราจร ลดค่าใช้จ่าย และลดการปล่อยคาร์บอน นอกจากนี้ ยังนำเสนอระบบ r-TWR ผสานเทคโนโลยีล้ำสมัย ทั้งด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลแบบคลาวด์ และการใช้ดาวเทียม ทำให้สามารถปรับปรุงคำสั่งและจัดการข้อมูลจากระยะไกลได้อย่างราบรื่นผ่านกล้องดิจิทัลและเซ็นเซอร์ ซึ่งกำลังยกระดับการควบคุมการจราจรทางอากาศให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น
  • SKF
    SKF ดำเนินธุรกิจทั่วโลกด้วยยอดขาย 320,000 ล้านบาท จากการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย บริษัทได้นำเสนอเทคโนโลยี RecondOil ซึ่งส่งเสริมความยั่งยืนโดยเปลี่ยนการหล่อลื่นด้วยน้ำมันอุตสาหกรรมจากกระบวนการใช้ครั้งเดียวให้เป็นระบบหมุนเวียน โดยใช้เทคโนโลยีการแยกสองขั้นตอน (Double Separation Technology) เพื่อกรองสิ่งเจือปนขนาดนาโนออก ทำให้สามารถนำน้ำมันกลับมาใช้ใหม่โดยยังคงคุณสมบัติเดิมไว้ได้ ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดน้ำมัน

นิวซีแลนด์
New Zealand
New Zealand Technology accelerating Thailand towards carbon neutrality
นิวซีแลนด์นำเสนอเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยมุ่งหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างรวดเร็ว โดยเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "See Tomorrow First" ของนิวซีแลนด์ที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลกที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และโปร่งใส โดยผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเน้นการสร้างความร่วมมือที่ใส่ใจและการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกภาคส่วน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อร่วมกันก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนไปด้วยกัน หน่วยงานที่มาร่วมนำเสนอเทคโนโลยีในงาน SX 2024 ได้แก่
  • CarbonClick
    นำเสนอเทคโนโลยีเพื่อติดตามและชดเชยการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรม MICE สายการบิน และโรงแรม เทคโนโลยีของ CarbonClick ให้ข้อมูล Carbon Footprint ที่แม่นยำและเป็นปัจจุบัน ช่วยให้ผู้จัดงานสามารถวัดผลและจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความเชี่ยวชาญของ CarbonClick ในการจัดการคาร์บอนสามารถช่วยสร้างมาตรฐานสำหรับการวัดและลดการปล่อยมลพิษในงานต่าง ๆ ให้กับองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนของประเทศได้ ซึ่ง CarbonClick ประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับองค์กรชั้นนำหลายแห่ง เช่น สนามบินชางงีของสิงคโปร์ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผสานเทคโนโลยีเข้ากับภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น โดยนำเสนอนวัตกรรมที่ปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กร

    ในงาน SX 2024 ผู้เข้าชมงานมีโอกาสได้เรียนรู้และสนุกกับแพลตฟอร์มการคำนวณค่าคาร์บอน โดย CarbonClick ทำให้ได้เรียนรู้จำนวนการปล่อยคาร์บอนในปีที่ผ่านมา เพื่อช่วยให้ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอน และปรับพฤติกรรมเพื่อให้ลดการเกิดคาร์บอนในอนาคต
  • Hiringa
    บริษัทสัญชาตินิวซีแลนด์ ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการเปิดตัวเครือข่ายสถานีเติมไฮโดรเจนแห่งแรกในภูมิภาคออสตราเลเซีย ครอบคลุมทั้งนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้พลังงานไฮโดรเจนในภาคการขนส่ง เทคโนโลยีของ Hiringa มีศักยภาพสูงสำหรับประเทศที่พึ่งพายานพาหนะขนาดใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่การขนส่งเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้รถบรรทุก อย่างไรก็ตาม ยานพาหนะเหล่านี้ที่ใช้เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม มักปล่อยคาร์บอนในปริมาณมาก ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศจึงเริ่มหันมาพิจารณาการใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานทางเลือก เพื่อมุ่งสู่การขนส่งที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การนำเสนอเทคโนโลยีของ Hiringa จึงเป็นโอกาสสำคัญในการศึกษาและพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานสะอาดในภาคการขนส่งของไทยและภูมิภาค
  • Dust Suppression Hopper (DSH)
    เป็นนวัตกรรมลดฝุ่นที่ปฏิวัติวงการขนถ่ายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการขนถ่ายลงเรือ ลงรถ หรือขนถ่ายเข้าคลังสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าเกษตรและเคมีผง ระบบนี้ถูกออกแบบมาให้เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ติดตั้งและดูแลรักษาง่าย พร้อมทั้งช่วยให้การลำเลียงสินค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถขนถ่ายได้สูงสุดถึง 1,700 ตันต่อชั่วโมง ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาด ระบบนี้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ ต้องการการดูแลรักษาน้อย และไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง

    ปัจจุบัน DSH ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยมีการติดตั้งถังนับพันใบในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก สะท้อนถึงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีนี้ นอกจากช่วยลดปัญหาฝุ่นแล้ว DSH ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและปกป้องสุขภาพของพนักงานในอุตสาหกรรมการขนถ่ายสินค้า ตอกย้ำถึงคุณค่าของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการผลิตและความปลอดภัย

เนเธอร์แลนด์
The Netherlands
A global collaboration of Dutch innovation for sustainable future
เนเธอร์แลนด์นำเสนอนวัตกรรมเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม ความมั่นคงด้านอาหาร และอื่น ๆ ซึ่งเป็นความท้าทายระดับโลก ผ่านประสบการณ์เสมือนจริงด้วยอุปกรณ์ VR ที่พาผู้ชมสำรวจโลกแห่งนวัตกรรมอย่างใกล้ชิด พร้อมเชื่อมต่อกับบริษัทผู้อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีล้ำสมัยเหล่านี้

นอกเหนือจากประสบการณ์ VR แล้ว ยังมีการนำเสนอโครงการนวัตกรรมจากบริษัทและองค์กรต่าง ๆ เช่น โครงการการเปลี่ยนพื้นที่ว่างในเมืองให้เป็นระบบนิเวศที่ยืดหยุ่นสำหรับการผลิตอาหาร โครงการนี้มุ่งเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้เป็นพื้นที่สีเขียวแห่งอนาคต โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการ นักนวัตกรรม หน่วยงานท้องถิ่น วิศวกร และผู้กำหนดนโยบาย เพื่อพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแบบหมุนเวียน เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในเขตเมือง พลิกโฉมพื้นที่สู่แหล่งอาหารที่ยั่งยืนเพื่อรองรับอนาคตที่การผลิตอาหารไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานอย่างมหาศาลอีกต่อไป

นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ในฐานะประเทศที่มีพื้นที่มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ยังนำเสนอเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำท่วมที่ล้ำสมัย ซึ่งได้นำมาประยุกต์ใช้แล้วในกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งจัดแสดงโมเดลของปั๊มสูบน้ำประสิทธิภาพสูงอีกด้วย

ฮังการี
Hungary
Hungary’s transformation towards a sustainable world – center of the concept of sustainability, an innovation-based country, improve the productivity of the economy and further sustainable clean water supply, sanitation and peace.
ฮังการีนำเสนอวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนระดับโลก มุ่งเน้นนวัตกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการจัดการน้ำและสุขาภิบาล สร้างเสริมสันติภาพ ดำเนินแผนปฏิบัติการปกป้องสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งใช้โอกาสในการดำรงตำแหน่งประธานสภาสหภาพยุโรปปี 2567 ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สนับสนุน SMEs และส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวและดิจิทัล ตลอดจนมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและพัฒนานโยบายเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง

หน่วยงานที่มาร่วมนำเสนอเทคโนโลยีในงาน SX 2024 ได้แก่
  • ACS HUNGARY KFT
    ผู้บุกเบิกบริการทำความสะอาดยานพาหนะแบบไร้น้ำ นำเสนอบริการทำความสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำลังปฏิวัติความยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
  • Consulthink Solutions
    ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาระบบ Data Lake ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่จากหลากหลายแหล่งในทุกรูปแบบ โดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นำเสนอนวัตกรรมทางธุรกิจที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และลดการใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่า ด้วยระบบการบริหารข้อมูล และประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ สามารถรายงานและประมวลผลในทันที พร้อมตรวจสอบแหล่งที่มาสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เพื่อยกระดับการบริหารจัดการในภาคส่วนนี้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ
  • Kuube
    นำเสนอม้านั่งอัจฉริยะทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้ชาร์จโทรศัพท์มือถือและให้บริการ WiFi ฟรี อีกทั้งยังติดตั้งระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมโดยรอบ ทั้งคุณภาพอากาศ ระดับเสียง และสภาพอากาศ นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีเพื่อวัดอุณหภูมิและกล้อง เพื่อตรวจสอบสุขภาพเบื้องต้นของผู้ใช้งานได้อีกด้วย

ฝรั่งเศส
France
French companies and research institutions are fully committed to achieving the SDG
สถานทูตฝรั่งเศสร่วมมือกับหอการค้าฝรั่งเศส-ไทย นำเสนอความร่วมมือด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยรวบรวมทั้งหน่วยงานวิจัยของรัฐบาลและบริษัทชั้นนำของฝรั่งเศส 10 หน่วยงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงนโยบาย แนวคิดริเริ่ม และแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ตัวอย่างหน่วยงานที่ร่วมนำเสนอเนื้อหา ได้แก่
  • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งชาติฝรั่งเศส (Institut de Recherche pour le Développement – IRD)
    นำเสนอโครงการ SIMPLE ที่ย่อมาจาก Sustainability Issues Metaverse for building Participatory Learning Environments เพื่อให้ความรู้พร้อมเพิ่มความตระหนักในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ผ่านระบบ 3D virtual universes (VUs) ที่มีรูปแบบคล้ายการเล่นเกมส์ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนทั้งใน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นได้รับความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ สวทช ซึ่ง VUs ที่ร่วมพัฒนากับ สวทช นั้น มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความตระหนักถึงผลกระทบของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพต่อระบบนิเวศ พร้อมแนวทางการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
  • Schneider Electric
    เป็นหนึ่งในหน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมนำเสนอนวัตกรรมความยั่งยืน Schneider Electric มุ่งมั่นผสานความยั่งยืนและประสิทธิภาพอย่างลงตัว ด้วยการบูรณาการแนวทางการทำงานในระดับโลกและนวัตกรรมด้านพลังงานชั้นนำอย่างครบวงจร Schneider Electric นำเสนอแพลตฟอร์ม EcoStruxure™ ที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และทำให้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของพวกเขาเป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมสวิตช์เกียร์ SM Airset ที่ไม่ใช้ก๊าซ SF₆ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง และเชื่อถือได้
idownload
gplay
istore