ico_living
ถึงเวลา ปรับวิถี ร่วมกันรับมือ ชะลอวิกฤตโลกเดือด
เพราะโลกยังคงหมุนไป และเวลาไม่เคยหยุดเดินไปข้างหน้า เช่นเดียวกับปัญหา Climate Change ที่ยังคงส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของเรามากขึ้น “Better Living“ ชวนคุณมาหาคำตอบว่า “เราจะใช้ชีวิต เพื่อโลกที่ดีขึ้นได้อย่างไร?” ร่วมสำรวจความเร่งด่วนของวิกฤตการณ์ภาวะโลกเดือด ย้อนดูสาเหตุของปัญหา ค้นหาพร้อมแนวทางปรับวิถีสู่ชีวิตคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่ระดับองค์กร สังคม จนถึงตัวคุณเอง
สำหรับนิทรรศการหลักโซน Better Living จะพาทุกคนได้เดินทางแห่งการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ ตระหนักถึงผลกระทบ และกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ
รับรู้
Awareness
เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ กับปัญหาภาวะโลกเดือดทุกคนได้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา รวมไปถึง การนับถอยหลังของโลกที่เกิดขึ้นจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ อย่าง Climate Clock และ Overshoot Day Calculator ที่ รวมไปถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากสภาวะการณ์ดังกล่าว รู้จักกับก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ซึ่งล้วนแล้วกิดจากฝีมือมนุษย์
เข้าใจ
Acknowledge
ย้อนกลับมามองสาเหตุของปัญหาภาวะโลกร้อนจนเดือด ซึ่งต้นตอของการปล่อยคาร์บอนเกิดจากพฤติกรรมมนุษย์ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว และภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมในระดับองค์กรที่ยิ่งสร้างให้เกิดความหนักหน่วงของปัญหาจากระดับประเทศสู่โลก ไปสู่ทางแยกของคำตอบ ทางออกของปัญหาสำคัญจากคำถามที่ว่า “เราจะใช้ชีวิต เพื่อโลกที่ดีขึ้นได้อย่างไร”
ลงมือทำ
Action
นำเสนอนวัตกรรม และไอเดียการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เพื่อร่วมมือกันลดการปล่อยคาร์บอน ลดการสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เราและโลกได้ไปต่อ ทั้งในระดับบุคคล ตั้งแต่เส้นทางการจัดการขยะอย่างยั่งยืน วัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จนถึงระดับองค์กร อาทิ Carbon Capture Technology
โซนนิทรรศการแนะนำ
Zone 1
Carbon & Climate
ต้อนรับผู้ชมด้วยหอนาฬิกา Climate Clock ที่กำลังนับถอยหลังคอยกระตุ้นเตือนถึง “เวลาที่ไม่อาจหวนกลับ” สร้างความตระหนักถึง “เหตุ” ต้นตอของวิกฤตการณ์และ “ผล” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก พร้อมฉายภาพอนาคตด้วยเทคโนโลยี Generative AI
Climate Deadline
สื่อถึงสถานการณ์ปัจจุบันของวิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้เข้าชมงานเล็งเห็นถึงความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา
  • Climate Clock: นำเสนอตัวเลข Real-time countdown สู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สามารถกลับสู่จุดสมดุลได้อีก
  • Overshoot Day Calculator: บอกเล่าเรื่องราวเมื่อความต้องการใช้ทรัพยากรและนิเวศบริการของมนุษย์ในปีนั้นๆมีค่าสูงเกินความสามารถที่โลกจะสร้างทดแทนได้
Global Warming & Climate Change
สร้างความเข้าใจถึงความเป็นมา และสาเหตุของภาวะโลกร้อน อันทำให้เกิดวิกฤติกาณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก
  • Temperature Change: ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
  • Energy Transition: บอกเล่า Timeline และประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เปรียบเทียบกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
  • Greenhouse Gas Emissions: รู้จักสาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน ผ่านก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ประเภท และสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก
Impact Of Climate Change
แสดงให้เห็นถึงผลกระทบภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อการดำรงชีวิตของเรา
  • Overview Effect: ภาพรวมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยแบ่งผลกระทบออกเป็นภาพใหญ่ในด้านต่างๆ
  • Prediction: ผลกระทบในอนาคตว่า จะเกิดผลต่อชีวิตของเราอย่างไรบ้าง?
Zone 2
Carbon & Us
พาสำรวจเส้นทางผ่านบอลลูนคาร์บอนขนาดยักษ์ที่สะท้อนเรื่องราวที่มาของคาร์บอน ทั้งในระดับสังคม (Mega: Industrial Carbon Emissions) และระดับบุคคล (Me: Carbon in daily-life) ไปสู่ทางแยกของคำตอบ ทางออกของปัญหาสำคัญจากคำถามที่ว่า “เราจะใช้ชีวิต เพื่อโลกที่ดีขึ้นได้อย่างไร”
Zone 3
How to live “Low Carbon Life”
ชวนเปลี่ยนมุมมอง ปรับวิถีสู่ชีวิตคาร์บอนต่ำ ผ่าน 2 มุมมอง
Mega (มุมมองมหภาค)

แนวทางการปรับตัว เพื่อโลกสีเขียว จากองค์กรเอกชน, ภาคธุรกิจ และนวัตกรรมการจัดการคาร์บอนจากทั่วทุกมุมโลก

ตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจ เช่น Carbon Capture Technology ที่มีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น แมมมอธ (Mammoth) โรงงานดักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ประเทศไอซ์แลนด์ จะสามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 36,000 ตันต่อปี หรือในด้านเทคโนโลยี Carbon curing คือ เทคโนโลยีในการผลิตคอนกรีต โดยนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ในกระบวนผลิตคอนกรีต เป็นต้น

ตัวอย่างเครือข่ายและหน่วยงานได้แก่
  • TSCN
    เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (Thailand Supply Chain Network หรือ TSCN) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2562 จากความร่วมมือของบริษัทเอกชนชั้นนำในประเทศไทย 9 บริษัท โดยแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ ประกอบด้วย กลุ่มงานโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน กลุ่มงานด้านสุขภาพ กลุ่มงานด้านความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน กลุ่มงานด้านการศึกษา และกลุ่มงานความภาคภูมิใจแห่งอาเซียน (Pride of ASEAN)
  • FTI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 9999
    เป็นแนวทางในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยมีหลักการสำคัญ3ประการ คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อพัฒนาอย่างยังยืนทั้งในด้านธุรกิจสังคมและสิงแวดล้อม
  • TIPMSE
    สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่ได้ออกแบบเส้นทางการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จนไปถึงการคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคอย่างถูกวิธี เกมเขาวงกต Trash Maze Runner: วงจรชีวิต วงกตปริศนา ที่ให้ผู้เล่นได้ติดตามและนำพาขยะชนิดต่างๆไปตามเส้นทางวงจรชีวิตของแต่ละบรรจุภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้เนื้อหาของ TIPMSE จะมีทั้งในส่วนของภาคอุตสาหกรรมไทยที่ต้องเตรียมพร้อมต่อกฎระเบียบด้านหลักการขยายขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility) ด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ และการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ผ่านการส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง
Me (มุมมองระดับบุคคล)

ตัวอย่างวิถีคาร์บอนต่ำแบบง่ายๆ ที่คุณเริ่มต้นได้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เรื่องบ้าน, อาหาร และการจัดการข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ประกอบด้วย

Smart Home and Low Carbon Lifestyle
  • วัสดุทางเลือกในการสร้างบ้านที่มาจากกระบวนการ Upcycle เช่น Green Block จาก บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จำกัด และ พื้นบ้านและหลังคาจากวัสดุ Recycle ของ Royce Universal
  • เคล็บลับสำหรับประหยัดพลังงานภายในบ้าน
Low carbon Food & Urban Farming
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการทำฟาร์มคาร์บอนต่ำ และแนะนำการปลูกผักภายในบ้าน เครื่องแปลขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ย (ชูชก ผู้เข้าร่วมแข่งขัน WWW)
  • วัตถุดิบ Low Carbon พร้อมเมนูลดคาร์บอน และอาหารที่ได้รับการรับรอง Carbon Footprint Reduction (CFR)
SX REPARTMENT STORE
  • รวบรวมข้อมูลและสถานที่ส่งต่อของเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ถ่านไฟฉาย, แว่นเก่า, ปฏิทินตั้งโต๊ะเก่า, กล่องอาหาร, ล็อตเตอรี่, ถุงผ้า/ถุงกระดาษ, E-Waste, ชุดชั้นในเก่า, แว่นตา

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
Thai Beverage Public Company Limited
  • ความสำคัญของน้ำ
  • การดูแลรักษาแหล่งน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ทั้งเรื่อง Water Quality, Efficiency, Replenishment
  • โครงการดูแลรักษาแหล่งน้ำชุมชน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
Thai Union Group PCL.
ไทยยูเนี่ยนสานต่อพันธกิจความยั่งยืน ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารทะเล ผ่านกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ที่ครอบคลุมการดูแลทั้งผู้คนและโลก โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติถึง 10 ประการด้วยกัน โดยพันธกิจทั้ง 11 ข้อของไทยยูเนี่ยน ได้แก่
  • 1. เส้นทางสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
  • 2. การทำประมงอย่างรับผิดชอบ
  • 3. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างรับผิดชอบ
  • 4. การฟื้นฟูระบบนิเวศ
  • 5. เกษตรกรรมที่มีความรับผิดชอบ
  • 6. กระบวนการผลิตที่เป็นเลิศ
  • 7. งานที่ปลอดภัย มีคุณค่า และเท่าเทียม
  • 8. การลดขยะพลาสติกในทะเล 
  • 9. โภชนาการและสุขภาพ
  • 10.บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
  • 11.การเป็นพลเมืองดีของสังคม
รายละเอียดของแต่ละพันธกิจ

เส้นทางสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์: ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42 เปอร์เซ็นต์ในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ภายในปี 2573 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593

การทำประมงอย่างรับผิดชอบ: 100 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทะเลที่จับจากธรรมชาติจะผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ หรือมาจากโครงการปรับปรุงการประมง โดยมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงาน และขยายขอบเขตการทำงานมากกว่าวัตถุดิบปลาทูน่าไปยังสัตว์น้ำอื่น ๆ

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างรับผิดชอบ: กุ้งเพาะเลี้ยงทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ของเรา จะต้องผลิตขึ้นโดยส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านสวัสดิการและสภาพการทำงานของอุตสาหกรรมอาหาร

การฟื้นฟูระบบนิเวศ: ไทยยูเนี่ยนจะสนับสนุนงบประมาณ 250 ล้านบาท (มากกว่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศสำคัญ

เกษตรกรรมที่มีความรับผิดชอบ: 100 เปอร์เซ็นต์ของวัตถุดิบถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มจะได้รับการรับรองว่าปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนวัตถุดิบไก่จะได้รับการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

กระบวนการผลิตที่เป็นเลิศ: ไทยยูเนี่ยนจะปรับปรุงระบบภายในโรงงานเพื่อลดการปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์ ลดของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ และลดการสูญเสียอาหารเป็นศูนย์ ในโรงงานหลักห้าแห่งทั้งในและต่างประเทศ

งานที่ปลอดภัย มีคุณค่า และเท่าเทียม: ไทยยูเนี่ยนยังคงเดินหน้าสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย มีคุณค่า ยอมรับความแตกต่างและหลากหลาย มีความเท่าเทียม ให้กับพนักงานทุกคนและยังขยายผลให้ครอบคลุม:
  • 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารองค์กรเป็นผู้หญิง
  • 100 เปอร์เซ็นต์ของเรือประมงที่จัดหาวัตถุดิบให้บริษัทจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และไม่มีแรงงานทาสสมัยใหม่
  • 100 เปอร์เซ็นต์ของฟาร์มสัตว์น้ำที่จัดหาวัตถุดิบให้บริษัทจะต้องดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงาน
การลดขยะพลาสติกในทะเล: ไทยยูเนี่ยนจะจัดการขยะพลาสติก 1,500 ตันไม่ให้ปนเปื้อนสู่แม่น้ำลำคลองและทะเล

โภชนาการและสุขภาพ: 100 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่เก็บได้ในอุณหภูมิห้อง (เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุกระป๋อง) ภายใต้แบรนด์ของบริษัทจะต้องยึดตามแนวทางด้านโภชนาการ และ 100 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่เก็บได้ในอุณหภูมิห้องที่ออกใหม่ทั้งหมดภายใต้แบรนด์ของบริษัท จะต้องส่งเสริมโภชนาการเชิงบวกเพื่อสุขภาพที่ดี

บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน: ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์สินค้าของบริษัท 100 เปอร์เซ็นต์จะต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนภายในปี 2568 และไทยยูเนี่ยนจะสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ผลิตให้กับคู่ค้าอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

การเป็นพลเมืองดีของสังคม: ไทยยูเนี่ยนจะสนับสนุนงบประมาณจำนวน 250 ล้านบาท (มากกว่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อช่วยเหลือและตอบแทนชุมชนในพื้นที่ที่เราดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีงานบรรเทาสาธารณภัยในช่วงเวลาวิกฤตอีกด้วย

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
Department of Industrial Promotion (DIPROM)
  • ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง BCG Model (Bio Circular Green Economy) ในแต่ละส่วนทั้งด้านความหมาย ส่งเสริมเรื่องอะไร ให้เกิดผลอะไร
  • 10 กิจกรรมภายใต้ B C G ที่มุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมไทย
  • นำเสนอ Success Case จากเครือข่าย SME ของทางกรม พร้อม Product จัดแสดง

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
Indorama Ventures
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ชวนคุณมาสัมผัสความมหัศจรรย์ของ "เคมีภัณฑ์ที่ขาดไม่ได้" (Indispensable Chemistry) ที่อยู่รอบตัวเราทุกวัน! พบกับห้องจำลองที่เต็มไปด้วยความรู้และแกลลอรี่ที่โชว์ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน ที่ผ่านกระบวนการผลิตและการรีไซเคิลอย่างยั่งยืน แล้วคุณจะรู้สึกทึ่งว่าความธรรมดากลายเป็นความพิเศษได้อย่างไร! พร้อมพบกับกิจกรรม Interactive game ลุ้นรับของรางวัล

บริษัท สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน)
STARPRINT
Starprint ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์กระดาษที่มุ่งเน้นด้านคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ปี 2529 นำเสนอ Process ของกระบวนการคิด ออกแบบ ตลอดจนการผลิตชิ้นงานผ่านนวัตกรรมที่ทันสมัยที่ผ่านการคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนในทุกกระบวนการ อาทิ
  • รู้จักกับศูนย์การออกแบบ Innovation Center ศูนย์พัฒนาด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กราฟิกดีไซน์ รวมถึงการทดลองวัตถุดิบและกระบวนการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างครบวงจร (One Stop Service)"
  • กระดาษที่ใช้บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC CoC หรือ (Forest Stewardship Council) พร้อมการแนะนำกาโดยใช้กระดาษอย่างมีประสิทธิภาพ จากผู้ผลิตกระดาษที่ได้รับการรับรอง FSC FM ทั้งนี้กระบวนการผลิตกระดาษที่ยั่งยืนได้มาตรฐาน FSC Chain of Custody FSC™ Chain of Custody ทั้งนี้การรับรอง Forestry product FSC Chain-of-Custody (CoC) ช่วยให้คุณสามารถแสดงให้เห็นว่ากระดาษ ผลิตจากไม้ที่คุณซื้อขายหรือใช้ที่มาจากป่าที่มีการจัดการอย่างดีหรือจากแหล่งที่มีควบคุม ได้รับการผลิตตามมาตรฐานที่เข้มงวด โดยจะติดตามเส้นทางของวัสดุจากป่าจนถึงการเป็นสินค้าสำเร็จรูป เพื่อให้มั่นใจว่ามีการใช้วัสดุที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิต

บริษัท บีเอเอสเอฟ (ไทย) จำกัด
BASF
ค้นพบโลกอนาคตแห่งความยั่งยืนในหนึ่งวันกับบีเอเอสเอฟ
พบกับบูธของบีเอเอสเอฟที่ชวนทุกท่านค้นพบเรื่องราวที่น่าสนใจของเคมีภัณฑ์ ในการขับเคลื่อนความยั่งยืนในหลากหลายอุตสาหกรรม และการเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เช้าถึงค่ำ เปิดประสบการณ์และทำความรู้จักกับ BASF Verbund เคมิคัลคอมเพล็กซ์ที่ยั่งยืนและใหญ่ที่สุดในโลก ที่ถูกออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์ เพื่อให้ทุกกิจกรรมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด และมีการปลดปล่อยคาร์บอนในระดับต่ำ

ที่บูธของเรา คุณจะได้พบว่า โซลูชั่นของบีเอเอสเอฟ ที่ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนได้นั้น สามารถเข้าไปเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไร นอกจากนั้นเรายังนำเสนอผลงานความสำเร็จเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ และโซลูชั่นเพื่อการหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน จากเทคโนโลยีด้าน Catalysts และ Carbon Capture อันล้ำสมัย

การไฟฟ้านครหลวง
Metropolitan Electricity Authority
การไฟฟ้านครหลวง (MEA) มุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผ่านการขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยแนวคิด 3P ที่ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
  • Prosperity (มิติเศรษฐกิจ) มุ่งบรรลุการเติบโตและความมั่นคงทางการเงิน ผ่านระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายคือการเป็นองค์กรต้นแบบในด้านไฟฟ้า ดิจิทัล และนวัตกรรม ภายในปี 2570
  • People (มิติสังคม) มุ่งเน้นการสร้างความเท่าเทียมกันในการยอมรับ ความไว้วางใจ และการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด โดยตั้งเป้าในการบรรลุความผูกพันและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างน้อย 70 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2570
  • Planet (มิติสิ่งแวดล้อม) มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เป้าหมายคือการเป็นองค์กรสีเขียวภายในปี 2570

บริษัท รอยซ์ ยูนิเวอร์แซล จำกัด
Royce Universal
บริษัท Royce Universal จำกัด อุตสาหกรรมการผลิตสินค้ากลุ่มพลาสติก ใช้แนวคิด "RoyceCycling / Turn Waste to Circular Living” จากขยะสู่การดำเนินชีวิตเพื่อความยั่งยืนอย่างเต็มรูปแบบ จุดเริ่มต้นของกระบวนการสนับสนุนการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ Recycle จนไปสู่กระบวนการ RoyceCycling ซึ่งเป็นระบบการ Recycling และ Upcycling ""Waste"" เป้าหมาย คือ การรีไซเคิลวัสดุ PET ทั้งจาก PCR และ PIR ให้ได้มากที่สุด ให้คำแนะนำด้านการออกแบบที่สร้างสรรค์ผ่านนวัตกรรมและการวิจัย สนับสนุนและส่งเสริมการใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการประยุกต์ใช้ในหลายๆ ด้าน เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งได้รับการรับรองจาก Thai FDA ให้สามารถผลิต Food Grade rPET เป็นปีแรก , วัสดุสำหรับการก่อสร้างและตกแต่ง ภายใต้แบรนด์ LUMINA , เครื่องใช้ในบ้าน และของใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์หมุนเวียนที่นำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้แบรนด์ Modern Furniture , Chic และ Montana ตรงตามจุดมุ่งหมายชัดเจนของบริษัทที่หวังให้ผลิตภัณฑ์จากการออกแบบ และสร้างสรรค์มาด้วยแนวคิดอย่างยั่งยืน จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้บริโภค

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด
บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (BJC) เป็นผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค บรรจุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และโลจิสติกส์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างยั่งยืนในทุกๆ วัน บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด (TBC) ผู้ผลิตกระป๋องอลูมิเนียมและฝาชั้นนำของไทย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการแสดงความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ และสร้างพลังขับเคลื่อนสังคม

BJC และ TBC มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน พร้อมขับเคลื่อนภารกิจสู่ความยั่งยืนและเป้าหมาย Net Zero เพื่ออนาคตที่ดีของทุกๆคนในสังคม

บริษัท ปตท. จำกัด
PTT
มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน(TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD)” ดำเนินธุรกิจบนหลัก “ความยั่งยืนอย่างสมดุล” สอดคล้องกับบริบทองค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีการกำกับดูแลที่ดีมีธรรมาภิบาล

ทิศทางและกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท. เน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่กับการบรรลุเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสมดุล เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2593

บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
HINO
สำหรับในปีนี้ ฮีโน่ได้นำเสนอ อีกหนึ่งนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainability นั้นคือ Hino Dutro Z EV รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า 100% มาร่วมจัดแสดงในงาน ต้องยอมรับว่ากว่า 60% ของการเกิดสภาวะเรือนกระจกในประเทศไทยมาจากภาคการขนส่งโดยเฉพาะการขนส่งบนถนนที่เป็นสาเหตุหลัก ดังนั้น ฮีโน่จึงพัฒนา Hino ZEV เพื่อลดปัญหาในจุดนี้ โดย Hino Dutro Z EV สามารถ ใช้งานได้ไม่ต่างจากรถสันดาปปกติ แต่ปล่อยก๊าซ CO2 เป็น 0 ลดการสร้างมลภาวะ ซึ่ง 1 รอบการชาร์ต 6 ชั่วโมง วิ่งได้ประมาณ 150 กิโลเมตร สามารถบรรทุกสินค้าได้ 1 ตัน เป็นรถชานต่ำพิเศษ ขนถ่ายสินค้า เคลื่อนย้ายสินค้าทำได้ง่ายขึ้น เพราะตัวถังตู้บรรทุกที่สามารถเดินเชื่อมต่อได้ (Walk-through) ดังนั้นจึงเป็นรถที่ใช้งานสะดวกและลดการการสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม

ข้อมูล Hino Dutro Z EV
รถบรรทุกไฟฟ้าขนาดเล็ก ขับเคลื่อนล้อหน้า แบบชานต่ำพิเศษ พร้อมตัวถังตู้บรรทุกที่สามารถเดินเชื่อมต่อได้ (Walk-through) เป็นมิตรกับผู้ใช้และปราศจากการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมในระบบโลจิสติกส์ รถบรรทุกไฟฟ้ารุ่นใหม่นี้ เป็นเป้าหมายของทาง Hino ที่จะมุ่งไปสู่อนาคตของระบบขนส่งสินค้าแบบ Last mile logistics เปิดตัวในตลาดญี่ปุ่นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภายใต้ชื่อ Hino Dutro Z EV โดยบริษัทขนส่งที่ญี่ปุ่นใช้ เช่น บริษัทขนส่งชั้นนำอย่าง KURONEKO YAMATO เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติม

บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน)
SPCG
SPCG มีโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยทั้งหมด 36 โครงการ กระจายอยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด รวมเนื้อที่ดินกว่า 5,000 ไร่ กำลังการผลิตรวมกว่า 260 เมกะวัตต์ และโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศญี่ปุ่นอีก 3 โครงการ ได้แก่โครงการ "Tottori Yonago Mega Solar Farm" กำลังการผลิตติดตั้งรวม 30 เมกะวัตต์, โครงการ "๊Ukujima Mega Solar Project" กำลังการผลิตติดตั้งรวม 480 เมกะวัตต์ และโครงการ "KANOYA OHURA Mega Solar Project" กำลังการผลิตติดตั้งรวม 8.02 เมกะวัตต์
SPCG มีโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยทั้งหมด 36 โครงการ กระจายอยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด รวมเนื้อที่ดินกว่า 5,000 ไร่ กำลังการผลิตรวมกว่า 260 เมกะวัตต์ และโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศญี่ปุ่นอีก 3 โครงการ ได้แก่โครงการ "Tottori Yonago Mega Solar Farm" กำลังการผลิตติดตั้งรวม 30 เมกะวัตต์, โครงการ "๊Ukujima Mega Solar Project" กำลังการผลิตติดตั้งรวม 480 เมกะวัตต์ และโครงการ "KANOYA OHURA Mega Solar Project" กำลังการผลิตติดตั้งรวม 8.02 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน SPCG มีกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น รวมกว่า 878 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน SPCG มีกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น รวมกว่า 878 เมกะวัตต์

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Ministry of Natural Resources and Environment
จัดแสดงนิทรรศการ โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และนิทรรศการนำเสนอการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ในการแก้ไขปัญหา พร้อมตั้งรับ ปรับตัว และสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
  • Climate Policy นำเสนอนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • Climate Action นำเสนอการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • Climate Technology นำเสนอเทคโนโลยีที่มีบทบาทในการลดก๊าซเรือนกระจก และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นรูปธรรม เข้าถึงความเป็นอยู่ของประชาชน
  • Climate finance นำเสนอการขับเคลื่อนการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเข้าถึงแหล่งเงินต่าง ๆ การเงินสีเขียว ตัวอย่างโครงการที่ได้รับการสนับสนุน

มูลนิธิผืนป่าในใจเรา
Forest in Our Hearts Foundation
"มูลนิธิผืนป่าในใจเรา” ตระหนักและให้ความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผืนป่าให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และมีความยั่งยืน มีเป้าหมายในการส่งเสริมการดูแลและอนุรักษ์ผืนป่า ตลอดจนเพิ่มพื้นที่สีเขียวในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเริ่มต้นโครงการแรก ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตไฟป่า สำหรับอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่นั้น เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งรวมพืชเฉพาะถิ่นและเป็นสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ที่ชัดเจนแห่งเดียวของประเทศไทย จึงทำให้ดอยหลวงเชียงดาวได้รับการเสนอชื่อต่อองค์การยูเนสโก ให้เป็นเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) แห่งที่ 5 ของประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีข้อมูลเพื่อให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) ในประเทศไทย ทั้ง 5 แห่ง และข้อมูลของนกสายพันธุ์หายาก ที่จะพบได้ในเฉพาะพื้นที่สงวนชีวมณฑลเท่านั้น รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปลูกป่าเสริมในป่าชุมชน สนับสนุนการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่ออนุรักษ์น้ำและความชุ่มชื้นของผืนป่า สนับสนุนให้นักเรียนเพาะกล้าพันธุ์ไม้ อบรมและสร้างจิตสำนึกให้ผู้นำชุมชนและเยาวชนในเขตพื้นที่สงวนชีวมณฑล รวมทั้งนำเสนอรายชื่อป่าชุมชนเข้าร่วมโครงการวางระบบคาร์บอนเครดิตเพื่อความยั่งยืน

PORSCHE
 
ปัจจุบันโลกได้มีการพัฒนาเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่สามารถนำพลังงานไฟฟ้ามาทำเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์แทนน้ำมัน ซึ่งรถยนต์ที่น่าสนใจและใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อน 100 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ PORSCHE TAYCAN ที่ไม่ได้มีจุดเด่นแค่พลังงานไฟฟ้า

TAYCAN หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า ไทคานน์ เป็นรถยนต์ในรูปแบบใหม่ของยี่ห้อ PORSCHE ที่มีตัวถังเป็นแบบ 4 ประตูซีดาน ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก่อนที่จะออกมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่สมบูรณ์แบบนั้น ได้มีการพัฒนามาเป็นระยะเวลานานกว่า 4 ปี จนได้แบบที่ดีที่สุดและได้ทำการผลิตในปี 2562 สิ่งที่น่าสนใจในรถยนต์รุ่นนี้ไม่ได้มีเพียงแค่การขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้งานผ่านสมาร์ตโฟนได้ ซึ่งยังไม่มีบริษัทที่ผลิตรถยนต์ค่ายไหนสามารถทำได้ นอกจากนี้รถยนต์รุ่นนี้ยังสามารถใช้งานได้จริง วิ่งได้ไกลสุดคือระยะทาง 400 กิโลเมตร ต่อการชาร์จไฟฟ้า 1 ครั้ง ถือว่าเป็นระยะการเดินทางที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการเดินทางไกล

แม้ว่า TAYCAN จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า แต่ก็มีกำลังในการขับเคลื่อนที่ไม่แพ้รถยนต์ปกติทั่วไป โดยมีกำลังแรงม้าตั้งแต่ 408 ไปจนถึง 761 แรงม้า ถ้าหากเปรียบเทียบกับรถประเภทเดียวกันอาจจะยังไม่แรงมากสำหรับคนที่ชอบขับรถด้วยความเร็ว แต่ถ้าหากเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนก็ถือว่ามีพลังแรงม้าที่มากกว่ารถยนต์บางยี่ห้อ และเนื่องจากเป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ทำให้มีการติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้ามากถึง 2 ชุดเพื่อใช้ในการควบคุมรถ โดยแบ่งเป็นชุดสำหรับล้อหน้า และชุดสำหรับล้อหลัง ทำให้สามารถขับเคลื่อนด้วย 4 ล้อได้เช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป และไม่ได้ขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อเป็นเพียงบางช่วงเท่านั้น เมื่อมีการใช้พลังงานในการขับเคลื่อนผ่านมอเตอร์ทั้ง 2 ชุด จะทำให้รถยนต์ PORSCHE TAYCAN ขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา

รถยนต์ PORSCHE TAYCAN มีทั้งหทด 3 รุ่น ได้แก่ TAYCAN 4S, TAYCAN TURBO และ TAYCAN TURBO S นำเข้าและจำหน่ายโดย บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด โทร. 091 191 1911

Turing
 
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัวแพลทฟอร์มวิจัยและทดสอบระบบรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ (Autonomous Shuttle pod) โดยนำเทคโนโลยี CAV มาพัฒนาและทดสอบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยมี ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานในงานเปิดตัวซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565

เพื่อทดสอบความสามารถของรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับในการตรวจจับวัตถุต่าง ๆ ขณะขับขี่แบบไร้คนขับ เพื่อนำไปพัฒนาการควบคุมรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับในอนาคต ซึ่งรถประเภทนี้จะใช้รับส่งผู้โดยสารในช่วงต้นและท้ายของการเดินทาง (First-last mile) โดยเชื่อมต่อกับการเดินทางโหมดอื่น ๆ เช่น รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถเมล์และการเดินทางอื่น ๆ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งหมายที่จะพัฒนาและนำรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับมาให้บริการรับส่ง หรือเปิดให้บริการเรียกผ่านแอปไร้คนขับเพื่อช่วยแก้ปัญหาการจราจรในอนาคต ช่วยลดอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งการทดลองนี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart MOB) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยบูรณาการแห่งแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีการศึกษาและพัฒนาด้านระบบขนส่งอัจฉริยะ ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบความปลอดภัยทางถนน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการเดินทางขนส่งของสังคมผู้สูงวัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556
idownload
gplay
istore